เว็บหวยออนไลน์

ห้องปฏิบัติการสัตว์

ภาควิชาสัตวบาล                                                      คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารสัตว์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร

ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 50 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์การเรียนการสอน การวิจัยและงานบริการวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี ตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลการทดสอบ ห้องปฏิบัติการฯได้จัดแผนการปฎิบัติงาน ดังนี้ 1. จัดให้บุคลากรเข้าอบรมการจัดระบบมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ( ISO/IEC17025 ) โดยเข้าอบรมที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งห้องปฏิบัติการได้นำระบบ ISO/IEC 17025 เป็นเกณฑ์ในการดำเนินงานในห้องปฏิบัติการ และให้บุคลากรเข้าอบรมหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อาหารสัตว์ด้วย 2. จัดให้มีการสอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้วที่ใช้วัดปริมาตร โดยเข้ารับการสอบเทียบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการและสถาบันอาหาร 3. เข้าร่วมกิจกรรมการทดสอบความชำนาญ (PT) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดของมอก.17025 (ISO/IEC17025) เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในผลการทดสอบ มีการจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการในการสร้างดัชนีชี้วัดสำหรับประเมินความสามารถห้องปฎิบัติการและผู้ทดสอบ โดยศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ห้องปฏิบัติการฯ ภาควิชาสัตวบาล ได้นำผลการประเมินสมรรถนะห้องปฏิบัติการฯ มาปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของการวิเคราะห์อาหาร ทั้งนี้เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ของผู้ใช้บริการ

งานบริการวิชาการ

ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อประมาณ 50 กว่าปีแล้ว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์การเรียนการสอน การวิจัยและงานบริการวิชาการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี ตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ และเพื่อให้เกิดความมั่นใจในผลการทดสอบ ห้องปฏิบัติการฯได้จัดแผนการปฎิบัติงาน ดังนี้ 1. จัดให้บุคลากรเข้าอบรมการจัดระบบมาตรฐานคุณภาพห้องปฏิบัติการ ( ISO/IEC17025 ) โดยเข้าอบรมที่กรมวิทยาศาสตร์บริการ ซึ่งห้องปฏิบัติการได้นำระบบ ISO/IEC 17025 เป็นเกณฑ์ในการดำเนินงานในห้องปฏิบัติการ และให้บุคลากรเข้าอบรมหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์อาหารสัตว์ด้วย 2. จัดให้มีการสอบเทียบเครื่องมือและเครื่องแก้วที่ใช้วัดปริมาตร โดยเข้ารับการสอบเทียบที่กรมวิทยาศาสตร์บริการและสถาบันอาหาร 3. เข้าร่วมกิจกรรมการทดสอบความชำนาญ (PT) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อกำหนดของ มอก.17025 (ISO/IEC17025) เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการ ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในผลการทดสอบ มีการจัดทำฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการในการสร้างดัชนีชี้วัดสำหรับประเมินความสามารถห้องปฎิบัติการและผู้ทดสอบ โดยศูนย์บริหารจัดการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ห้องปฏิบัติการฯ ภาควิชาสัตวบาล ได้นำผลการประเมินสมรรถนะห้องปฏิบัติการฯ มาปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของการวิเคราะห์อาหาร ทั้งนี้เพื่อให้ผลการทดสอบเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ของผู้ใช้บริการ

อัตราค่าบริการวิเคราะห์

 

ปริมาณตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์

          ตัวอย่างในสภาพแห้ง ประมาณ 300 กรัม

          ตัวอย่างในสภาพสด ประมาณ 900 – 1,000 กรัม

ขั้นตอนการส่งตัวอย่าง

  1. กรอกแบบคำร้องขอส่งตัวอย่าง
  2. ส่งตัวอย่างและแบบคำร้องมาที่ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ฯ ชั้น 3 ตึกจรัด-สุนทรสิงห์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร โทร 02-5791120 ต่อ 33 คุณนิภารัตน์ โคตะนนท์ หรือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ธร คงมั่น // email: fagrnrk@ku.ac.th // fagrptk@ku.ac.th
  3. ชำระเงินโดยเงินสด หรือ วิธีการโอน พร้อมแสดงใบเสร็จชำระเงิน หรือ หลักฐานการโอนเงิน ทางอีเมล fagrnrk@ku.ac.th // fagrptk@ku.ac.th

 สามารถชำระเงิน ผ่านระบบ QR CODE

    4. กระบวนการวิเคราะห์จะเริ่มหลังจากตรวจสอบการโอนเงินแล้วเสร็จ
    5. ผลการวิเคราะห์จะได้ภายใน 7 – 14 วัน ทำการ (ขึ้นอยู่กับจำนวนตัวอย่าง)

ที่อยู่ในการจัดส่ง  นิภารัตน์ โคตะนนทฺ์ ตึกจรัดสุนทรงสิงห์ ชั้น 3 คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  50 ถ.งามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร  กรุงเทพฯ 10900            Tel. 065-9496614

 

 

เอกสารดาวน์โหลด

1. ตัวอย่างแบบฟอร์มใบรายงานผลการวิเคราะห์

2. ข้อมูลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์อาหารสัตว์

กรอกแบบคำร้องขอส่งตัวอย่าง สามารถดาวโหลดได้ที่นี้

1. แบบคำร้องขอส่งตัวอย่าง DOC

2. แบบคำร้องขอส่งตัวอย่าง PDF

1. ขอใช้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ในเวลาราชการ

2. ขอใช้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์นอกเวลาราชการ

1. แบบคำร้องขอส่งตัวอย่างห้องปฏิบัติการสรีรวิทยา DOC

2. แบบคำร้องขอส่งตัวอย่างห้องปฏิบัติการสรีรวิทยา PDF